logo

ลักษณะธุรกิจ

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจกลั่นน้ำ มันโดยโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ มีกำลังการผลิตรวม 215,000 บาร์เรลต่อวัน จัดอยู่ในอันดับ 3 ของกำลังการกลั่นน้ำมันในประเทศ สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมได้หลากหลายชนิด ประกอบด้วย ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) แนฟทา น้ำมันเบนซิน ดีเซล และน้ำมันเตา นอกจากนี้ บริษัทฯ มีโรงงานผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน (Lube Base Oil) กำลังการผลิต 320,000 ตันต่อปี และยางมะตอยขนาดกำลังการผลิต 600,000 ตันต่อปี ซึ่งมีกำลังการผลิตสูงสุดภายในประเทศ โดยบริษัทฯ ยังถือเป็นโรงกลั่นรายแรกของประเทศไทยในการริเริ่มจำหน่ายยางมะตอยเกรด 40/50 เข้าตลาดในประเทศ พร้อมด้วยคุณภาพมาตรฐาน มอก. นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบในการผลิตยางล้อรถและยางสังเคราะห์ (Rubber Process Oil) ที่เป็นที่ยอมรับและรับรองด้านคุณภาพในระดับสากล

สรุปภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ เป็น 3 ด้าน ได้แก่ ธุรกิจปิโตรเลียม ธุรกิจปิโตรเคมี และธุรกิจสนับสนุนอื่น ๆ

ธุรกิจปิโตรเลียม

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจกลั่นน้ำ มันโดยโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ มีกำลังการผลิตรวม 215,000 บาร์เรลต่อวัน จัดอยู่ในอันดับ 3 ของกำลังการกลั่นน้ำมันในประเทศ สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมได้หลากหลายชนิด ประกอบด้วย ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) แนฟทา น้ำมันเบนซิน ดีเซล และน้ำมันเตา นอกจากนี้ บริษัทฯ มีโรงงานผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน (Lube Base Oil) กำลังการผลิต 320,000 ตันต่อปี และยางมะตอยขนาดกำลังการผลิต 600,000 ตันต่อปี ซึ่งมีกำลังการผลิตสูงสุดภายในประเทศ โดยบริษัทฯ ยังถือเป็นโรงกลั่นรายแรกของประเทศไทยในการริเริ่มจำหน่ายยางมะตอยเกรด 40/50 เข้าตลาดในประเทศ พร้อมด้วยคุณภาพมาตรฐาน มอก. นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบในการผลิตยางล้อรถและยางสังเคราะห์ (Rubber Process Oil) ที่เป็นที่ยอมรับและรับรองด้านคุณภาพในระดับสากล

โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดีเซล

จากนโยบายของประเทศที่กำหนดให้จำหน่ายน้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร 5 (Euro 5) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เพื่อลดปัญหามลภาวะและฝุ่นละออง รวมถึงลดปัญหา PM 2.5 ทางบริษัทฯ จึงได้เริ่มปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและได้มีโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นและปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดีเซล (Ultra Clean Fuel Project: UCF) โดยโครงการจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ และทำให้บริษัทฯ สามารถผลิตน้ำมันดีเซลชนิดกำมะถันต่ำได้ร้อยละ 100 จากเดิมที่ผลิตน้ำมันดีเซลชนิดกำมะถันสูงอยู่เป็นจำนวนมาก และต้องส่งออกไปยังภูมิภาคในแถบเอเชีย ซึ่งในอนาคตตลาดน้ำมันดีเซลกำมะถันสูงคาดว่าจะเหลืออยู่เพียงตลาดเดียวคือการขายเป็นเชื้อเพลิงเรือเดินสมุทรและสำหรับลูกค้าในกลุ่มประมงเท่านั้น ซึ่งมีความต้องการซื้อค่อนข้างจำกัด อีกทั้งผู้ซื้อมีทางเลือกที่ใช้น้ำมันเตากำมะถันต่ำที่ราคาถูกกว่า ส่งผลให้การขายน้ำมันกำมะถันสูงมีการแข่งขันด้านราคาสูง

จากโครงการนี้บริษัทฯ สามารถรองรับความต้องการบริโภคน้ำมันดีเซลในประเทศที่เพิ่มขึ้น และสามารถส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคต่างๆ ที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานของน้ำมันดีเซลจากยูโร 4 (Euro 4) และกำลังเข้าสู่ยูโร 5 (Euro 5) ในอนาคต จึงทำให้บริษัทฯ สามารถสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์และมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

ธุรกิจปิโตรเคมี

บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น ได้แก่ โอเลฟินส์ อะโรเมติกส์ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตปิโตรเคมีขั้นปลาย ประกอบด้วย เม็ดพลาสติกกลุ่มโพลิโอเลฟินส์ (HDPE, PP) และเม็ดพลาสติกกลุ่มสไตรีนิกส์ (ABS/SAN, PS, EPS) เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลาสติกสำเร็จรูปชนิดต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศภายใต้ตราสินค้า POLIMAXX

นอกจากนี้ ธุรกิจปิโตรเคมียังมุ่งเน้นการก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีการผลิตที่เปลี่ยนไป ด้วยการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ เม็ดพลาสติกผสมวัสดุจากธรรมชาติ (Natural Compound Resin) Acetylene Black for Li-ion Battery (Pim-L, Pim-AL) Ultran High Molecular Weight Polyethylene (UHMW-PE) PP Spunbond และ PP Meltblown เป็นต้น รวมถึงมีการดำเนินโครงการ Eco Solution เพื่อบริหารจัดการตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตในอุตสาหกรรมพลาสติกแบบ Closed Loop ซึ่งหมายถึงกระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี มีประสิทธิภาพ และครบถ้วนทุกขั้นตอน ไม่ทำให้ขยะพลาสติกที่เกิดจากกระบวนการผลิตออกนอกระบบไปเป็นภาระแก่ชุมชนและสังคม

ธุรกิจสนับสนุนอื่นๆ

ธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปโภค

ธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปโภค เป็นการให้บริการระบบไฟฟ้า ไอน้ำ สาธารณูปโภคพื้นฐาน และระบบสาธารณูปการต่างๆ รวมถึงการให้บริการระบบบำบัดน้ำเสียให้กับลูกค้าอุตสาหกรรม และการบริการธุรกิจอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ บริษัทฯ ได้ทำการผลิต จำหน่าย และให้บริการระบบไฟฟ้าและสาธารณูปโภคต่างๆ ดังนี้

ระบบไฟฟ้า (Electrical) และระบบไอน้ำ (Steam)

บริษัทฯ มีโรงงานผลิตไอน้ำ และไฟฟ้าร่วม (Combine Heat and Power) ซึ่งใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติและโรงไฟฟ้าใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน (Power Plant) กำลังการผลิตไฟฟ้า 307 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ รวมกำลังการผลิตของโรงงานไฟฟ้า ไออาร์พีซี คลีนพาวเวอร์ (IRPC-CP) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนปัจจุบัน และโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ที่ได้รับอนุมัติแผนการลงทุนปี 2564 และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2567 จะมีกำลังการผลิตรวมประมาณ 430 เมกะวัตต์ รวมถึงมีศูนย์สั่งการไฟฟ้าและไอน้ำ (Power Dispatching Center) เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าและไอน้ำให้มีเสถียรภาพสูงสุด พร้อมระบบสายส่งแบบ Loop Line เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบการใช้ไฟฟ้าให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องในกรณีที่มีการหยุดซ่อมบำรุง

บริษัทฯ ดำเนินการติดตั้งทุ่นโซลาร์ลอยน้ำ (Floating Solar) ในบ่อน้ำดิบสำรองของบริษัทฯ บนพื้นที่ 200 ไร่ มีกำลังการผลิตไฟฟ้า ขนาด 12.5 เมกะวัตต์ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเสริมความมั่นคงให้กับเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี จังหวัดระยอง ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ โดยให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยลดภาวะโลกร้อน

บริษัทฯ ยังให้ความสนับสนุนและให้ความร่วมมือลูกค้าในเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี สำหรับการดำเนินการ โครงการต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นพลังงานสะอาด ไม่มีมลภาวะในขณะกำลังผลิตไฟฟ้าและช่วยลดภาวะโลกร้อน

ระบบน้ำ: น้ำอุตสาหกรรม (Filtered Water) น้ำปราศจากแร่ธาตุ (Demineralized Water) น้ำหล่อเย็น (Cooling-Water) น้ำดิบ (Raw Water) น้ำดับเพลิง (Fire Fighting Water)

เพื่อการอุตสาหกรรม บริษัทฯ ได้รับโควต้าน้ำดิบจากกรมชลประทาน และมีโรงกรองน้ำจำนวน 2 แห่ง ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านค่าย และเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับอุตสาหกรรมโดยตอบสนองความต้องการให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ระบบลม (Nitrogen, Instrument Air, Plant Air)

เพื่อการอุตสาหกรรม บริษัทฯ มีหน่วยผลิตเป็นของตัวเองรวมถึงการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ผลิตชั้นนำในอุตสาหกรรมระบบลมโดยตรง

ระบบบำบัดน้ำเสีย (Wastewater Treatment)

เป็นระบบ Membrane Bioreactor Plus Activated Carbon Adsorption (MBR Plus AC) ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดสูง มีเสถียรภาพในการเดินระบบ โดยน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดจะมีคุณภาพ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ธุรกิจท่าเรือและถังเก็บผลิตภัณฑ์

ท่าเรือไออาร์พีซ

บริษัทฯ ให้บริการท่าเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้าทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ โดยมีท่าเทียบเรือพร้อมให้บริการแก่บุคคลภายนอกรองรับการขนส่งของแต่ละภูมิภาค ดังต่อไปนี้

ท่าเทียบเรือน้ำลึกไออาร์พีซี ภาคตะวันออกที่อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

ประกอบด้วย

ท่าเรือคอนเทนเนอร์และสินค้าทั่วไป Bulk & Container Terminal (BCT)

ตัวท่ามีความยาว 900 เมตร และความกว้าง 44 เมตร ประกอบด้วยท่าเทียบเรือ 6 ท่า สามารถรับเรือลำเลียงได้ตั้งแต่ขนาด 800 ตัน จนถึงขนาด 150,000 ตัน กินน้ำลึกสูงสุด 13.5 เมตร

ท่าเรือปิโตรเคมีและปิโตรเลียมเหลว Liquid & Chemical Terminal (LCT)

ให้บริการท่าเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้าประเภทของเหลวและก๊าซด้วยอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ตัวท่ามีความยาวประมาณ 1,623 เมตร ประกอบด้วยท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ 6 ท่า สามารถรับเรือได้ตั้งแต่ขนาด 1,000-250,000 ตัน

ถังเก็บผลิตภัณฑ์

บริษัทฯ ให้บริการถังเก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีเหลว ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์ มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐานสากล โดยมีถังเก็บผลิตภัณฑ์จำนวน 299 ถัง สามารถรองรับการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ได้ถึง 2.9 ล้านตัน เพื่อรองรับการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันของบริษัทฯ และให้บริการแก่บุคคลภายนอก ตั้งกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ คลังน้ำมันระยอง คลังน้ำมันพระประแดง คลังน้ำมันอยุธยา และคลังน้ำมันชุมพร โดยที่คลังน้ำมันแต่ละแห่งมีท่าเทียบเรือเพื่อให้บริการขนถ่ายสินค้า ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานและการกระจายสินค้ามีประสิทธิภาพ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการขนส่ง

ธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สิน

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สินซึ่งเป็นที่ดินที่มีศักยภาพ ตั้งอยู่ในจังหวัดระยองและจังหวัดอื่นๆ รวมทั้งสิ้น ประมาณ 12,000 ไร่ โดยบริษัทฯ ได้พัฒนาพื้นที่ให้เป็นที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมและที่ดินที่มีศักยภาพสนับสนุนการขยายตัว ของภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) รวมถึงโครงการตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐอื่นๆ โดยแยกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

โครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรม: เขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

ปัจจุบันเป็นโครงการที่เพียบพร้อมไปด้วยระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและระบบสาธารณูปการต่างๆ โดยมุ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมระบบนิเวศและห่วงโซ่การผลิตวัสดุหรือผลิตภัณฑ์จากต้นน้ำ ที่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมโรงกลั่นและปิโตรเคมีครบวงจรสู่ปิโตรเคมีขั้นปลายและอุตสาหกรรมขั้นปลายโดยตรง (Direct Downstream) อันเป็นหัวใจของอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมีสมัยใหม่ รวมไปถึงเตรียมความพร้อมรองรับอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมจากเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio Product) กลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Health Life & Science) และกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาเป็นวัตถุดิบสำหรับ อุตสาหกรรมขั้นสูง (Advance Material)

โครงการนิคมอุตสาหกรรม: นิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล เอสเตท ระยอง (WHAIER) อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (WHA ID) โดยบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 40 และ WHA ID ถือหุ้นร้อยละ 60 การผนึกกำลังทางธุรกิจเกิดขึ้นเพื่อการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมให้พร้อมรองรับการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ได้เริ่มดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Basic Infrastructure) และจะมีแผนการทางด้านการตลาดในปีถัดไป

ที่ดินอื่นๆ ที่มีศักยภาพ:

ที่ดินแปลงใหญ่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 2,300 ไร่ มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม และพัฒนาเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมรองรับการขยายตัวของโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รวมไปถึงพื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดระยอง และพื้นที่ที่มีขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน